วันที่8พฤศจิกายน 2553

ตอบ.3
อธิบายข้อมูล: 1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส ( Nulear membrane) เป็นเยื่อบางๆ 2 ชั้น เรียงซ้อนกัน ที่เยื่อนี้จะมีรู เรียกว่านิวเคลียร์พอร์ ( Nuclear pore) หรือ แอนนูลัส ( Annulus) มากมาย รูเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารต่าง ๆ ระหว่างไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส นอกจากนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียส ยังมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่าน เช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มนิวเคลียสชั้นนอก จะติดต่อกับเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม และมีไรโบโซมมาเกาะ เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงสารต่าง ๆ ระหว่างนิวเคลียสและไซโทพลาซึมด้วย
โครงสร้างนิวเคลียร์พอร์
2. โครมาทิน ( Chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียส ที่ย้อมติดสี เป็นเส้นในเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห เรียกร่างแหโครมาทิน ( Chromatin network) โดยประกอบด้วย โปรตีน รวมกับกรดดีออกซีไรโบนิคลีอิค ( deoxyribonucleic acid) หรือเรียกว่า DNA เป็นสารพันธุกรรม ที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต เส้นใยโครมาตินมีคุณสมบัติติดสีได้ดี ทำให้เห็นนิวเคลียสได้ชัดเจน
ในการย้อมสี โครมาทินจะติดสีแตกต่างกัน ส่วนที่ติดสีเข้มจะเป็นส่วนที่ไม่มีจีน (Gene) อยู่เลย หรือมีก็น้อยมาก เรียกว่า เฮเทอโรโครมาทิน ( Heterochromatin)
ส่วนที่ย้อมติดสีจาง เรียกว่า ยูโครมาทิน ( Euchromatin) ซึ่งเป็นที่อยู่ของจีน ในขณะที่เซลล์กำลังแบ่งตัว ส่วนของโครโมโซมจะหดสั้นเข้าและมีลักษณะเป็นแท่งเรียกว่า โครโมโซม ( Chromosome) และโครโมโซมจะจำลองตัวเองเป็นเส้นคู่ เรียกว่า โครมาทิด (Chromatid) โครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนแน่นอน เช่น ของคนมี 23 คู่ ( 46 แท่ง ) แมลงหวี่ 4 คู่ ( 8 แท่ง) แมว 19 คู่ ( 38 แท่ง) หมู 20 คู่ ( 40 แท่ง) มะละกอ 9 คู่ ( 18 แท่ง) กาแฟ 22 คู่ ( 44 แท่ง) โครโมโซมมีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมค่าง ๆ ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป เช่น หมู่เลือด สีตา สีผิว ความสูง และการเกิดรูปร่าง ของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น
3. นิวคลีโอรัส ( Nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียส ที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ ค้นพบโดยฟอนตานา ( Fontana ) เมี่อปี ค.ศ. 1781 ( พ.ศ. 2224) นิวคลีโอลัสพบเฉพาะเซลล์ของพวกยูคาริโอตเท่านั้น เซลล์อสุจิ เซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เจริญเติบโตเต็มที่ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ไฟเบอร์ของกล้ามเนื้อ จะไม่มีนิวคลีโอลัส นิวคลีโอลัส เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมี บนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับ กลไกการสร้างโปรตีน
ซึ่งนิวคลีโอรัส ประกอบด้วย โปรตีน และ RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน (Phosphoprotein) จะไม่พบโปรตีนฮิสโตนเลย ในเซลล์ที่มีกิจกกรรมสูง จะมีนิวคลีโอลัสขนาดใหญ่ ส่วนเซลล์ที่มีกิจกรรมต่ำ จะมีนิวคลีโอลัวขนาดเล็ก นิวคลีโอลัสมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ และถูกนำออกทางรูของเยื่อหุ้มนิวเคลียส เพื่อสร้างเป็นไรโบโซมต่อไป ดังนั้น นิวคลีโอลัส จึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีน เป็นอย่างมาก เนื่องจากไรโบโซมทำหน้าที่สร้างโปรตีน
ที่มาของข้อมูล:student.nu.ac.th/phitsanu_edu/cell_animal.htm
ตอบ.4
อธิบายข้อมูล:การลำเลียงแบบใช้พลังงาน อาศัยโปรตีนที่แทรกอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวลำเลียงเช่นเดียวกับการแพร่แบบฟาซิลิเทต แต่แตกต่างกันตรงที่เซลล์ต้องใช้พลังงานเป็นตัวพา เรียกว่า ATP เพื่อเป็นแรงผลักในการลำเลียง ซึ่งทิศทางตรงข้ามกับการแพร่

       เอกโซไซโทซิส
          เอกโซไซโทซิสเป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่ออกจากเซลล์สารที่จะถูกส่งออกนอกเซลล์บรรจุอยู่ในเวสิเคิล เมื่อเวสิเคิลรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่อยุ่ภายในเวสิเคิลก็จะถูกปล่อยออกไปนอกเซลล์ เช่น การหลั่งเอนไซม์จากเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร

การลำเลียงสารแบบเอกโซไซโทซิส


            เอนโดไซโทซิส
         เอนโดไซโทซิส เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เอนโดไซโทซิสในสิ่งมีชีวิต มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามกลไกการลำเลียง ได้แก่
            ฟาโกไซโมซิส เป็นการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ที่พบได้ในเซลล์จำพวกอมีบาและเซลล์
์เม็ดเลือดขาวโดยเซลล์สามารถยื่นไซโทพลาสซึมออกมาล้อมอนุภาคของสารที่มีขนาดใหญ่ที่เป็นของแข็งก่อนที่จะนำเข้าสุ่เซลล์ในรูปของเวสิเคิล จากนั้นอาจรวมตัวกับไลโซโซมภายในเซลล์เพื่อย่อยสลายภายในเวสิเคิล ด้วยเอนไซม์ภายในไลโซโซม
            พิโนไซโทซิส เป็นการนำอนุภาคของที่อยุ่ในรูปของสารละลายเข้าสู่เซลล์ โดยการทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เว้าเข้าไปในไซโทพลาสซึมทีละน้อยจนกลายเป็นถุงเล็ก ๆ เมื่อเยื่อหุ้มเซลล์ปิดสนิทถุงนี้จะหลุดเข้าไปกลายเป็นเวสิเคิล
            การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ เป็นการนำการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ ที่เกิดขึ้นโดยมีโปรตีนเป็นตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่ถูกลำเลียงเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีนี้จะต้องมีความจำเพาะในการจับกับโปรตีนตัวรับที่อยุ่บนเยื่อหุ้มเซลล์จึงจะสามารถนำเข้าสู่เซลล์ได้ หลังจากนั้นเยื่อหุ้มเซลล์จึงเว้าเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าสู่ภายในเซลล์
ที่มาข้อมูล:www.thaigoodview.com/.../cp07_transport.html
ตอบ.2
อธิบายข้อมูล:
  1. ฮอร์โมน อนุพันธ์ของอะมีน (Amine-derived hormone) เป็นอนุพันธ์ของ กรดอะมิโน ไทโรซีน และ ทริปโตแฟน (tryptophan) ตัวอย่าง เช่น แคทีคอลามีน (catecholamine) และ ไทโรซีน (thyroxine)
  2. เปปไทด์ฮอร์โมน (Peptide hormone) ประกอบด้วยโซ่ของ กรดอะมิโน ตัวอย่าง เช่น เปปไทด์ฮอร์โมน เล็กอย่าง TRH และ วาโซเพรสซิน เปปไทด์ประกอบด้วยโซ่ กรดอะมิโน ที่ต่อกันเป็นโมเลกุลของ โปรตีน ตัวอย่าง โปรตีนฮอร์โมน ได้แก่ อินสุลิน และโกรว์ทฮอร์โมน
  3. สเตอรอยด์ฮอร์โมน (Steroid hormone) เป็นอนุพันธ์จาก คอเลสเตอรอล (cholesterol) แหล่งผลิตในร่างกายได้แก่ เปลือกต่อมหมวกไต (adrenal cortex) และ ต่อมบ่งเพศ (gonad) ตัวอย่างเช่น
  4. สเตอรอยด์ฮอร์โมน คือ เทสโตสเตอโรน และ คอร์ติโซน
  5. สเตอรอลฮอร์โมน (Sterol hormone) เช่น แคลซิตริออล
  6. ลิพิด และ ฟอสโฟลิพิด มี ฮอร์โมน ดังนี้
  7. ลิพิดเช่น กรดไลโนเลนิก (linoleic acid)
  8. ฟอสโฟลิพิด เช่น กรดอาแรคคิโดนิก (arachidonic acid)
  9. อีไอโคซานอยด์ (eicosanoid) เช่น โปรสตาแกลนดิน (prostaglandin)
ที่มาข้อมูล:th.wikipedia.org/wiki/ฮอร์โมน
ตอบ3
อธิบายข้อมูล:
สารละลายบัฟเฟอร์(buffer solution)หมายถึงสารละลายของกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อน หรือคู่เบสของกรดอ่อน หรือหมายถึงสารละลายของเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อนหรือคู่กรดของเบสอ่อนนั้น
สมบัติของสารละลายบัฟเฟอร์ คือ รักษาสภาพ PH ของสารละลายเอาไว้โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเติมกรดแก่หรือเบสแก่จำนวนเล็กน้อยลงไปการเตรียม ทำได้โดยการเติมกรดอ่อนลงในสารละลายเกลือของกรดอ่อน หรือการเติมเบสอ่อนลงในสารละลายเกลือของเบสอ่อน
 ที่มาข้อมูล:ujutchemical.exteen.com/20060911/entry-6
ตอบ.1
อธิบายข้อมูล:
การจำแนกไวรัสสาเหตุของโรคพืชโดยใช้แมลงพาหะ
                  ไวรัสสาเหตุของโรคพืชส่วนใหญ่ถ่ายทอดโดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ จึงถูกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
                  1. stylet-borne virus หรือ nonpersistent virus จะสามารถถ่ายทอดโดยติดไปกับปากของแมลงและหายไปจากตัวแมลงอย่างรวดเร็ว เพียงแค่การไปดูดกินน้ำเลี้ยงพืชหนึ่งครั้งเท่านั้น ไวรัสกลุ่มนี้มีสมาชิกมากที่สุด
                  2. circulative virus หรือ persistent virus ไวรัสสาเหตุของโรคพืชเข้าไปอยู่ภายในตัวแมลงเป็นระยะเวลายาวนานหรือตลอดชั่วชีวิตของแมลง ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าไวรัสมีการเพิ่มจำนวนในตัวของเพลี้ยอ่อนหรือไม่ แต่ถ้าเป็นไวรัสที่ถ่ายทอดโดยเพลี้ยกระโดด มันจะผ่านต่อไปยังรุ่นลูก รุ่นหลานได้ทางไข่
คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของไวรัสสาเหตุของโรคพืช ( physical and chemical properties of plant viruses )
                  คุณสมบัติที่ว่านี้ได้แก่ ความเจือจางต่ำสุดของเชื้อที่สามารถก่อให้เกิดโรคกับพืช ( dilution end point ) อุณหภูมิในระดับที่สามารถหยุดปฏิกิริยาของเชื้อไวรัสได้( thermal inactivation point ) และความยาวนานในการดำรงชีวิตอยู่ได้นอกเซลล์สิ่งมีชีวิต ( longevity in vitro ) ซึ่งคุณสมบัตินี้สามารถช่วยในการวินิจฉัยชนิดของไวรัสที่ก่อให้เกิดลักษณะอาการของโรคที่คล้ายคลึงกันได้ แต่การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพนั้นบ่อยครั้งที่มีปัจจัยภายนอกอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
                  TMV มีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่คงที่มากกว่าไวรัสชนิดอื่น ๆ มักถูกนำไปใช้ในการศึกษาเรื่องต่างๆ มากมาย จนทำให้ทราบว่าตัว particle ของไวรัสประกอบด้วย nucleic acid และ protein โดย protein เป็นตัวห่อหุ้ม nucleic acid ไวรัสสาเหตุของโรคพืชส่วนใหญ่ที่ก่อให้เกิดอาการด่าง ( mosaic ) มี nucleic acid ประเภท ribonucleic acid ( RNA ) และมีไวรัสสาเหตุของโรคพืชอย่างน้อยที่สุด 1 ชนิด คือ cauliflower-mosaic virus ที่ nucleic acid เป็น deoxy- ribonucleic acid ( DNA )
                  ไวรัสมีรูปร่าง 3 แบบ คือ แบบเป็นท่อนตรง ( rigid rod ) แบบเป็นท่อนคด ( flexuous rod ) และแบบทรงกลมหลายเหลี่ยม ( polyhedral ) มีขนาดอยู่ระหว่าง 16 – 475 m? (1 m ? = 10 -6 mm ) ไวรัส TMV มีรูปร่างเป็นท่อนตรง มีขนาด 15 x 280 m?
วงจรของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส ( virus disease cycle )
                   เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์พืชโดยอาศัยตัวพาหะต่างๆแล้ว จะปล่อย RNA เข้าไปดึงเอาสารประกอบที่มีไนโตรเจนอยู่จาก cytoplasm และจาก nucleus ไปใช้ในการเพิ่มจำนวน nucleic acid ของตัวไวรัส และใช้ amino acid ของเซลล์พืชในการสร้าง protein ของตัวมันเอง หลังจากการสร้าง particle ใน vacuole ของเซลล์พืชหรือใน cytoplasm แล้ว อาจทำให้เห็นผลึกของเชื้อไวรัสเมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
ความสัมพันธ์ทางเซรุ่มวิทยา ( serological relationships )
                   ไวรัสเป็น antigen ที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้น antiserum ที่ได้จากการใช้ไวรัสชนิดหนึ่งฉีดเข้าไปในตัวสัตว์จึงทำปฏิกริยากับของเหลวที่สกัดออกมาจากพืชที่เป็นโรคอันเนื่องมาจากไวรัสชนิดนั้น โดยของเหลวที่สกัดมาจากพืชต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอ antiserum ที่ได้มานี้จะไม่ทำปฏิกิริยากับของเหลวที่สกัดออกมาจากต้นพืชที่ไม่เป็นโรคหรือที่เป็นโรคอันเนื่องมาจากไวรัสชนิดอื่น การทดสอบทางเซรุ่มวิทยาช่วยให้สามารถบอกความสัมพันธ์ในระหว่างไวรัสพืชต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
ที่มาข้อมูล:www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id...
ตอบ.4
อธิบายข้อมูล:
แอนติบอดี (อังกฤษ: antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (อังกฤษ: immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen)
การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเปปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป
ที่มาข้อมูล:
th.wikipedia.org/wiki/แอนติบอดี
ตอบ.2
อธิบายข้อมูล:. การวางกล้อง ตำแหน่งที่วางกล้องควรเป็นพื้นที่ราบ มีแสงสว่างเพียงพอ
2. การวางสไลด์ นำสไลด์ที่เตรียมไว้วางบนแท่นวางสไลด์ และจัดตำแหน่งของวัตถุที่จะดูให้อยู่
ตรงกับช่องรับแสง แล้วปรับแระจกใต้กล้องเพื่อรับแสงสว่างผ่านเข้าสู่ช่องรับแสงให้พอเหมาะ
3. การหาภาพ•  หมุนเลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำสุดมาไว้ตรงตำแหน่งวัตถุที่จะดู
3.2 หมุนปุ่มปรับภาพหยาบเพื่อเลื่อนเลนส์ใกล้วัตถุให้ลงไปอยู่ในตำแหน่งต่ำสุด ก่อน
3.3 ลืมตาทั้ง 2 ข้างขณะดูที่เลนส์ใกล้ตา แล้วค่อย ๆ ปรับปุ่มปรับภาพหยาบโดย เลื่อนขึ้นช้า ๆ จนเห็นภาพ หมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น
3.4 ถ้าภาพยังมีขนาดเล็กให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงเข้ามาแทนเลนส์ใกล้วัตถุอันเดิม
แล้วค่อย ๆ หมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้ภาพชัดเจนขึ้น ( ห้ามใช้ปุ่มปรับภาพหยาบกับเลนส์ใกล้วัตถุ
ที่มีกำลังขยายสูง)
4. ลักษณะภาพที่มองเห็นจากกล้องจุลทรรศน์ เป็นภาพเสมือนหัวกลับกับวัตถุ ดังนั้นถ้าต้องการเลื่อนภาพขึ้นด้านบนจะต้องเลื่อนสไลด์ลงด้านล่าง และเมื่อต้องการเลื่อนภาพไปทางขวา
ต้องเลื่อนสไลด์ไปทางซ้าย
5. การเก็บรักษากล้องจุลทรรศน์หลังการใช้ ควรปฏิบัติดังนี้
5.1 เก็บกระจกสไลด์
5.2 เช็ดแทนวางกระจกสไลด์ให้สะอาด
5.3 ปรับเลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำสุดมาไว้ด้านล่าง
5.4 หมุนปุ่มปรับภาพหยาบเพื่อให้ลำกล้องลงมาต่ำสุด
5.5 หมุนกระจกรับแสงใต้กล้องให้ตั้งฉากกับพื้น
5.6 ถ้าจะเช็ดเลนส์ ต้องใช้กระดาษสำหรับเช็ดเลนส์โดยเฉพาะเท่านั้น
ที่มาข้อมูล:store.tkc.go.th/multimedia/.../p01/.../unit1.htm
ตอบ.4
อธิบายข้อมูล: ดีเอ็นเอ (อังกฤษ: DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน
ที่มาข้อมูล:th.wikipedia.org/wiki/ดีเอ็นเอ
อธิบายข้อมูล:
พันธุกรรม (อังกฤษ: genetics) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นสู่รุ่น (Generation) เช่น รุ่นพ่อแม่ลงไปสู่รุ่นลูกหลาน มีการเริ่มต้นการศึกษาเรื่องพันธุกรรมโดย เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) เป็นผู้ที่ค้นพบและอธิบายหลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ในช่วงกลางของทศวรรษที่ 18
พันธุกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีลักษณะต่างๆแตกต่างกันไปมากมาย โดยมีหน่วยควบคุมที่เรียกว่ายีน ซึ่งมีทั้งยีนที่ควบคุมลักษณะเด่น และยีนที่ควบคุมลักษณะด้อย แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ลักษณะเราแตกต่างออกไปคือสภาพแวดล้อม เช่น ความอ้วน อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม
ที่มาข้อมูล:th.wikipedia.org/wiki/พันธุกรรม
ตอบ.3 
อธิบายข้อมูล:
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (อังกฤษ: thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่าๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 และพบผู้ที่มีพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน[1] เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ
ที่มาข้อมูล:th.wikipedia.org/wiki/ทาลัสซีเมีย
ตอบ.4
อธิบาย:
  บน DNA ปกติมียีนและลำดับเบสปกติ  ถ้าลำดับเบสเปลี่ยนไปก็จะทำให้โปรตีนผิดปกติด้วย  ทำให้ลักษณะเปลี่ยนแปลงไป  การที่สิ่งมีชีวิตมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปเนื่องมาจากเบสบน DNA เปลี่ยนไปเรียกว่า เกิด มิวเทชั่น : Mutation (การกลายพันธุ์) ซึ่งมี 2 แบบคือ
1.  โครโมโซมมิวเทชั่น (Chromosome mutation) การเปลี่ยนไปของโครโมโซมมี 2 แบบ คือ
1.1 จำนวนโครโมโซมเปลี่ยนไป ตัวอย่างเช่น
                   -  อะนิวพลอยดี้ (aneuploidy) การเพิ่มหรือลดโครโมโซมเป็นแท่ง  คือจาก 46 แท่งอาจเพิ่มเป็น 47 หรือลดเป็น 45 แท่ง  ได้แก่ โมโนโซมิค (momosomic),  ไดโซมิค (disomic),  ไตรโซมิค (trisomic),  โพลิโซมิค (polysomic)
                   -  ยูพลอยดี้ (euploidy) การเพิ่มหรือลดโครโมโซมเป็นชุด ได้แก่ แฮพพลอยด์ (haploid=n) พบในเซลล์สืบพันธุ์  โมโนพลอยด์ (monoploid = n) พบในเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์    ดิพลอยด์ (diploid = 2n) เซลล์ปกติ     ทริปพลอยด์ (triploid = 3n) ในแตงโมไม่มีเมล็ด  โพลิพลอยด์ (polyploid = หลายๆ n) ในข้าวสาลี
1.2 โครงสร้างของโครโมโซมเปลี่ยนแปลง เช่น ดีลีชั่น (deletion) การที่โครโมโซมหายไป  ซึ่งคือชิ้นส่วนหรือเบสหายไปนั่นเอง  ดูพลิเคชั่น (duplication) การเพิ่มของโครโมโซม    อินเวอร์ชั่น (inversion) การกลับหัวกลับหางของโครโมโซม    ทรานสโลเคชั่น (translocation) การที่ โครโมโซมไม่เป็นคู่ (non-homologous chromosome) มาแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนกัน
2.  ยีนมิวเทชั่น (Gene mutation) คือ การที่เบสเปลี่ยนแปลง ได้แก่
          1. นอนเซ็นต์ (nonsense) ทำให้เบสเปลี่ยนเป็นรหัสพันธุกรรมหยุดสร้างสายโพลิเปปไทด์ คือ  UAA,  UAG,  UGA
          2. มิสเซ็นต์ (missense) เบสเปลี่ยนไป  ทำให้เปลี่ยนแบบของกรดอะมิโนตัวใหม่ คล้ายๆ กับการ substitution
          3. ดีลีชั่น (deletion) เบสหายไป
          4. แอดดิชั่น (addition) เพิ่มเบสเข้าไป
          5. เฟรมชิฟ มิวเทชั่น (frame-shift mutation) การเปลี่ยนเบสโดยการหายหรือการเพิ่มเพียง 1 ตัว ทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยน  ทำให้โพลิเปปไทด์ตั้งแต่จุดเปลี่ยนเบสเปลี่ยนแปลงไปตลอดสาย
          6. เบสแทนที่กัน (base pair substitution) จะแทนที่แบบทรานซิชั่น (transition) คือ จากพิวรีน(purine) ไปเป็น พิวรีน และจากไพริมิดีน (pyrimidine) ไปเป็นไพริมิดีนหรือการแทนที่แบบทรานสเวอร์ชั่น(transversion) คือจากพิวรีนไปเป็น ไพริมิดีน
          7. การเกิด รีเวอร์สแทนต์ (revertant) ในรีเวอร์สชั่น (reversion) (เกิด แอดดิชั่น แล้วตามด้วยดีลีชั่น) โดยมีกรดอะมิโนไม่มากที่เปลี่ยนแปลงไป
ที่มา:blog.eduzones.com/kwang/8014

ตอบ.2

อธิบาย:การโคลน หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อาศัยการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ คือสเปิร์ม กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือไข่ ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์ตามปกติ แต่ใช้เซลล์ร่างกาย (Somatic cell) ในการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่

อันที่จริงเทคโนโลยีการโคลน เป็นเทคโนโลยีที่พบเห็นในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายมาหลายสิบปีมาแล้ว โดยเฉพาะกับพืช เช่น การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งเป็นการาขยายพันธุ์ที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูง การโคลนพืช จะใช้เซลล์อวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือแม้แต่โพรโตพลาสต์ของพืช มาเลี้ยงในสารอาหาร และในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่าง ๆ ของพืชดังกล่าวสามารถจะเจริญเป็นพืชต้นใหม่ ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ การตัดกิ่ง ใบ ราก ไปปักชำก็ จัดว่าเป็นโคลนในพืชที่เรียกว่า การเลี้ยงเนื้อเยื่อ ก็มีการศึกษาการโคลนในสัตว์บ้างเหมือนกัน เช่น J.B Gurdon จากมหาวิทยาลัยออก

ที่มา:blog.eduzones.com/boil/3051 -
ตอบ.2

อธิบาย:สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMOs) (บัญญัติศัพท์ตามประกาศราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2544) คือ สิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ ที่ได้รับการดัดแปลงลักษณะประจำพันธุ์โดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ จากการนำเอาความรู้เกี่ยวกับหน่วยพันธุกรรม หรือยีน (gene) และสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA) มาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสร้างพันธุ์ของพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ให้มีคุณลักษณะทางพันธุกรรมตามที่ต้องการ โดยใช้เทคโนโลยีการตัดต่อยีนเป็นหลัก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากสายพันธุ์ที่มีอยู่แต่ดั้งเดิมตามธรรมชาติ ให้มีสารพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะต่างๆ ทั้งที่ได้จากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน หรือจากสิ่งมีชีวิตอื่นที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่นำมาตัดแต่งพันธุกรรม และหน่วยพันธุกรรมที่ทำการถ่ายทอดเข้าไปสามารถแสดงออก สามารถแปลรหัสเพื่อสร้างโปรตีน ในการสร้างลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมอยู่แต่เดิมได้ ซึ่งเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาการทางเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) และชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular Biology) โดยเฉพาะงานทางด้านพันธุวิศวกรรม (genetic Engineering) ในการปรับปรุง หรือสร้างสิ่งมีชีวิตให้มีลักษณะตามต้องการ เพื่อให้ก่อประโยชน์สูงสุด ทั้งในด้านทางการเกษตร ทางการแพทย์ และทางด้านอุตสาหกรรม
ที่มา:www.bloggang.com/mainblog.php?id=genen...4...
ตอบ.3

อธิบาย:
สำหรับ ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint) เป็นการนำเอาคำภาษาอังกฤษสองคำคือคำว่า DNA และ fingerprint มาประกอบกัน คำว่า DNA นั้นเป็นคำย่อของ "Deoxy ribonucleic acid" ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสารพันธุกรรมของมนุษย์ทุกคน เป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆ ในคนนั้นๆ เช่น ลักษณะสีผม สีตา เล็บมือ หน้าตา ฯลฯ ส่วนคำว่า fingerprint หมายถึงลายพิมพ์นิ้วมือที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อนำสองคำนี้มารวมกันจึงเป็น DNA fingerprint ซึ่งมีความหมายเป็นนัยว่า ลายพิมพ์ดีเอ็นเอในบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะบุคคลดังเช่นลายพิมพ์นิ้วมือ ซึ่งตามข้อเท็จจริง ลายพิมพ์ดีเอ็นเอจะมีลักษณะที่เฉพาะกว่าลายพิมพ์นิ้วมือ เพราะลายพิมพ์นิ้วมือในบุคคลหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป ลายเส้นอาจจะเปลี่ยนไปตามอายุขัย หรือ แม้แต่ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุหรือถูกสารเคมี ลายพิมพ์นิ้วมือก็อาจถูกลบไปได้ ส่วนลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไร ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป
ตอบ.2
อธิบาย:
ระบบนิเวศ หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือOikos แปลว่า บ้าน, ที่อยู่อาศัย,แหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตLogos แปลว่า เหตุผล, ความคิด== ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ ==สิ่งมีชีวิต (Organism)หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้1. ต้องมีการเจริญเติบโต2. เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย3. สืบพันธุ์ได้ 4. ประกอบไปด้วยเซลล์5. มีการหายใจ6. มีการขับถ่ายของเสียต่างๆ7. ต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆประชากร (Population)หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกันกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community)หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กัน โดยตรงหรือโดยทางอ้อมโลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere)หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกันแหล่งที่อยู่ (Habitat)หมายถึง แหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งบนบกและในน้ำสิ่งแวดล้อม (Environment)หมายถึง1. สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตหรือ ดำรงชีวิตได้ดีหรือไม่2. สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตtest== ส่วนประกอบ==ในระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้น จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนด้วยกัน คือ1. องค์ประกอบที่มีชีวิต ซึ่งแบ่งย่อยออกไปตามหน้าที่ ได้ดังนี้ 1.1 ผู้ผลิต หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตัวเองจากพลังงานแสงอาทิตย์เพราะมีสารสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรพีลล์ซึ่งได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดและบัคเตรีบางชนิดรวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000ชนิด พืชเหล่านี้สร้างอาหารโดยอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์และอนินทรียสาร 1.2 ผู้บริโภค เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตัวมันเองไม่สามารถสร้างอาหารได้ต้องอาศัยการกินพืชและสัตว์อื่นๆ 1.3 ผู้ย่อยสลาย เป็นพวกที่ปรุงอาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยซากของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอาหาร ได้แก่ จุลินทรีย์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ได้แก่ บัคเตรี เห็ด รา ยีสต์ ฟังไจ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ จะทำการย่อยสลายซากชีวิตต่างๆ โดยการขับเอนไซม์ออกมาย่อยสลายจนอยู่ในรูปของสารละลาย แล้วจากนั้นก็ดูดซับเข้าไปในลำตัวของมันต่อไป การย่อยสลายในระดับดังกล่าวได้ก่อให้เกิดสารประกอบในรูปของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งกลุ่มผู้ย่อยสลายจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารอินทรีย์เหล่านี้ให้เป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพื่อให้พืชสีเขียวดังไปใช้สร้างธาตุอาหารต่อไปใหม่ 2. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ซึ่งประกอบด้วย 2.1 อนินทรียสาร ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน น้ำ ไฮโดรเจน ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ 2.2 อินทรียสาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ฯลฯ ซึ่งพืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งหลาย ทำการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์ 2.3 ภูมิอากาศ ได้แก่ แสง อุณหภูมิความชื้น น้ำฝน== อ้างอิง ==* ระบบนิเวศ จากเว็บไทยกู๊ดวิว

ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/ระบบนิเวศ
ตอบ.2
อธิบาย:
ภูเขาไฟระเบิด เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง การระเบิดของภูเขาไฟนั้นแสดงให้เห้นว่าใต้ผิวโลกของเราลงไประดับหนึ่ง มีความร้อนสะสมอยู่มากโดยเฉพาะที่เรียกว่า"จุดร้อน" ณ บริเวณนี้มีหินหลอมละลายเรียกว่า แมกมา และเมื่อมันถูกพ่นขึ้นมาตามรอยแตกหรือปล่องภูเขาไฟ เราเรียกว่า ลาวา
ที่มา:scratchpad.wikia.com/.../การเกิดระเบิดของภูเขาไฟ

ตอบ.4
อธิบาย:
ความหลากหลายทางชีวภาพ (อังกฤษ: Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (อังกฤษ: Species) สายพันธุ์ (อังกฤษ: Genetic) และระบบนิเวศ (อังกฤษ: Ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก
ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ
ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น
ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (อังกฤษ: vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995)
ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน
ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (อังกฤษ: environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น
ที่มา:th.wikipedia.org/.../ความหลากหลายทางชีวภาพ
ตอบ.4
อธิบาย:
พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ ปัจจุบันนี้พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในการชลประทาน การสี การทอผ้า และใช้ในโรงเลื่อย พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ ในอินเดีย และชาวโรมันก็ได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อใช้ในการโม่แป้งจากเมล็ดพืชต่างๆ ส่วนผู้คนในจีนและตะวันออกไกลก็ได้มีการใช้พลังงานน้ำเพื่อสร้าง Pot Wheel เพื่อใช้ในวิดน้ำเพื่อการชลประทาน โดยในช่วงทศวรรษ 1830 ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างคลองเฟื่องฟูถึงขีดสุด ก็ได้มีการประยุกต์เอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือขึ้นและลงจากเขา โดยอาศัยรางรถไฟที่ลาดเอียง (Inclined Plane Railroad : Funicular)โดยตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แบบนี้ อยู่ที่คลอง Tyrone ในไอร์แลนด์เหนือ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำในยุคแรกนั้นเป็นการส่งต่อพลังงานโดยตรง (Direct Mechanical Power Transmission) ทำให้การใช้พลังงานน้ำในยุคนั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงาน เช่น น้ำตก เป็นต้น ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งต่อพลังงานไปใช้ในที่ที่ห่างจากแหล่งน้ำได้




ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/พลังงานน้ำ
ตอบ1
อธิบาย:ในทางอนินทรีย์เคมี ไนเตรต เป็น เกลือ ของ กรดไนตริก ไนเตรตไอออน เป็น พอลิอะตอมิกไอออน (polyatomic ion) ซึ่งมีสูตรเอมไพริกัล ดังนี้ NO3 และมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 62.01 ดัลตัน (daltons) มันเป็น ด่างร่วม (conjugate ) ของ กรดไนตริก ไนเตรตไอออน มีโครงสร้าง เป็นสามเหลี่ยมแบนราบ (trigonal planar-โดยแต่ละออร์บิทัลทำมุมกัน 120 องศา) และสามารถแทนด้วยลูกผสม (hybrid)
ฟอสเฟต (อังกฤษ: phosphate) คือ หินชนิดหนึ่ง แร่ที่สำคัญของฟอสเฟต คือ อะพาไทต์ เกิดจากการสะสมตัวจากฟอสเฟต ส่วนใหญ่มักจะใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี

ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/ฟอสเฟต

th.wikipedia.org/wiki/ไนเตรต
ตอบ.2


อธิบาย:
สัตว์ป่า หมายถึง สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลงหรือแมง ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และหมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียน ตามรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะแล้ว และสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าว


ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/สัตว์ป่า

ตอบ1,2











1 ความคิดเห็น:

  1. 1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน เต็ม20ได้20คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน เต็ม10ได้10คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)เต็ม20ได้20คะแนน
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสมเต็ม50ได้40คะแนน

    รวม100คะแนน ได้90คะแนน

    ตอบลบ