กิจกรรมวันที่13-17ธันวาคม 2553


ตอบ.4

อธิบาย.ดีเอ็นเอ (DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ โดยการผสมผสานระหว่างครึ่งหนึ่งของดีเอ็นเอของแม่ และอีกครึ่งของพ่อ รวมเป็นลักษณะของเรา และยังสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลาน (Offspring) ได้ทั้งสีผม หน้าตา แขน ขา ใบหู ดีเอ็นเอพบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน สัตว์ พืช เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส เป็นต้น
ดีเอ็นเอ (DNA)
ความจริงคนเรารู้จักกับดีเอ็นเอมาเกือบ 140 ปีมาแล้ว ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดริช มีเชอร์ ในปี
พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับมันมากนัก ดีเอ็นเอ
กลายมาเป็นที่สนใจในวงกว้างมากขึ้นเมื่อ 50 ปีที่แล้วมานี่เอง เมื่อนักวิทยาศาสตร์หนุ่มสองคน
ในขณะนั้นคือ เจมส์ วัตสัน และ ฟรานซิส คริก ได้ประกาศการค้นพบโครงสร้างดีเอ็นเอว่าเป็น
สายคู่ที่บิดพับเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียนแบบที่เรียกว่า ดับเบิลเฮลิกซ์ (double helix) ในวารสาร
วิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงฉบับหนึ่งคือ Nature เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2496 และ ส่งผลให้
วัตสันและคริกได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์หรือสรีรวิทยาร่วมกับ นักวิทยาศาสตร์อีกท่านหนึ่ง
ที่มีผลงานเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด คือ มัวริส วิลคินส์ ในปี 2505
การตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดา อาจใช้วิธีตรวจจากเลือด น้ำลาย กระดูก ผม หรือ
ตรวจจากเซลล์เยื่อบุกระพุ้งแก้มก็ได้ โดยนำสิ่งส่งตรวจไปที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อทำการสกัดดีเอ็นเอ
ผ่านขั้นตอนกระบวนกรรมวิธีทำให้ดีเอ็นเอเป็นสารบริสุทธิ์ จากนั้นเตรียมดีเอ็นเอที่สกัดได้ นำมา
ทำการทดสอบกับชุดทดสอบที่เรียกว่า DNA markers จำนวน 16 ชุด ผลที่ได้จะเป็นแบบแผน
สารพันธุกรรมของสิ่งส่งตรวจ เมื่อนำแบบแผนสารพันธุกรรมของสิ่งส่งตรวจทั้งหมดมาเปรียบเทียบ
กันแล้ว ทางห้องปฏิบัติการสามารถใช้การวิเคราะห์ทางสถิติคำนวณความน่าจะเป็น ซึ่งเรียกว่า
probability of paternity


ที่มา.th.wikipedia.org/wiki/ดีเอ็นเอ -


 ตอบ.2

อธิบาย.สังคมปัจจุบัน กำลังมีความกังวลและมีข้อข้องใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งมีทั้งพืชสัตว์และจุลินทรีย์ หรือที่เราเรียกกันว่า “จีเอ็มโอ” (GMOs) ว่าการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอจะมีผลกระทบต่อร่างกายหรือไม่ อย่างไร ทั้งในแง่ประโยชน์และโทษ เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่นี้มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้และทำความรู้จักกับ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ดัดแปรพันธุกรรมเหล่านี้ เพื่อที่จะได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและมีความเข้าใจในประเด็นความมากขึ้น

เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับจีเอ็มโอ รวมทั้งอาหารที่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องและไขข้อสงสัยต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นเช่น ผลกระทบต่อร่างกายจากการบริโภคอาหารที่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบ รวมถึงหน่วยงานในประเทศไทยที่มีหน้าที่ตรวจสอบจีเอ็มโอในอาหารทั้งที่เป็นวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป หากเรามีความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องแล้วก็จะสามารถศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์จากจีเอ็มโอ ในการพัฒนาการบริโภคและการเกษตรกรรมของไทยต่อไป

1.จีเอ็มโอ คืออะไร มีอันตรายหรือไม่

จีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (เทคนิกการตัดต่อยีน) ในพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ เช่น ต้านทานแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมหรือเพิ่มสารโภชนาการบางชนิด เช่น วิตามิน
การพิจารณาว่าจีเอ็มโอปลอดภัยต่อผู้บริโภคและ/หรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการทดสอบหลายด้านเพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีบทบาทในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป และก่อนที่ผู้ลิตรายใดจะนำจีเอ็มโอ หรือผลผลิตจากจีเอ็มโอแต่ละชนิดออกไปสู่ผู้บริโภคได้นั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอทุกชนิด ทั้งที่นำมาบริโภคเป็นอาหาร หรือนำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มีความปลอดภัย

2.จีเอ็มโอ คือ สารปนเปื้อน ที่มีอันตรายใช่หรือไม่

จีเอ็มโอ ไม่ใช่สารปาเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จีเอ็มโอคือสิ่งมีชีวิตที่เป็นผลพวงของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติที่ดีตามที่ต้องการ เช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะที่สุกงอมช้ากว่าปกติ การดัดแปรพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง เป็นต้น

ดังนั้นการใช้คำว่า “ปนเปื้อน” ในกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ “ปนเปื้อน” มีความหมายในลักษณะที่ไม่ต้องการให้มี เช่น ไม่ต้องการให้สารปรอทหรือสารหนูปนเปื้อนในอาหาร

3. การตัดต่อทางพันธุกรรมหรือการดัดแปรพันธุกรรมนั้นทำอย่างไร มีการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่

การดัดแปรพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต คือ การนำสารพันธุกรรม (หรือที่เรียกว่า ยีน) ที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการ ถ่ายใส่เข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เราต้องการดัดแปรพันธุกรรม

วิธีการถ่ายยีน มีด้วยกันหลายวิธี แล้วแต่ว่าเราจะถ่ายยีนเข้าสู่สิ่งมีชีวิตชนิดใด พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม หลักสำคัญของการถ่ายยีนก็คือ

- ยีนที่จะถ่ายเข้าไปนั้นจะต้องมีความบริสุทธิ์ไม่มีสารใดปนเปื้อน เพราะสิ่งสกปรกจะลดประสิทธิภาพของการถ่ายยีน
- วิธีที่ใช้ถ่ายยีน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระแสไฟฟ้า หรือสารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย หรือการยิงกระสุนทองคำเคลือบชิ้นยีน โดยใช้แรงดันลมจากก๊าซเฉื่อย หรือการใช้แบคทีเรียชื่อ “อะโกรแบคทีเรีย” (ซึ่ง 2 วิธีหลังนี้ใช้สำหรับการถ่ายยีนเข้าพืชเท่านั้น) วิธีต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะต้องมีประสิทธิภาพดีในการนำพาชิ้นยีนเข้าสู่เซลล์แล้ว ยังต้องไม่ทำอันตรายต่อเซลล์ เพราะมิฉะนั้นแล้วเซลล์ที่ได้รับการถ่ายยีนจะไม่สามารถเจริญขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่สมบูรณ์ได้

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าในขั้นตอนของการดัดแปรพันธุกรรมนั้น ย่อมมีสารเคมีหรือสารชีวภาพบางตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สารเหล่านั้นจะถูกกำจัดออกไปในขั้นตอนการทำความสะอาดชิ้นยีนก่อนการถ่ายยีน ส่วนสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายยีนนั้น เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิต

4. อาหารประเภทใดบ้าง ที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ

อาหารที่มีอาจมีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอที่มีอยู่ในปัจจุบัน และพบได้ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น แคนาดา และอื่นๆ ได้แก่ อาหารประเภทถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะละกอ และผักบางชนิด เป็นต้น แต่อาหารเหล่านี้ได้ผ่านขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวดมาแล้ว จึงสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ ในกรณีน้ำนมจากแม่โคที่ได้รับฮอร์โมนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนั้น ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าพบสารนี้ตกค้างในน้ำนม อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนี้ ไม่ใช่จีเอ็มโอ

5. หากเราเปรียบเทียบการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ กับอาหารทั่วไป ประโยชน์หรือโทษที่จะได้รับหรือผลที่มีต่อร่างกายจะมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอจะต้องผ่านกระบวนการประเมินความปลอดภัยโดยใช้ “หลักการเทียบเท่า” (Substantial equivalence) ตามมาตรฐานสากล Codex และได้รับอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลก่อนนำออกจำหน่ายแก่ผู้บริโภค เช่น ในประเทศไทยกำหนดไว้ว่า ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปทุกประเภทต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอซึ่งผ่านกระบวนการประเมินความปลอดภัยและได้รับรองจาก อย.แล้วนั้น มีคุณประโยชน์หรือโทษไม่แตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันกับที่ไม่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ

ตามปกติแล้วคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ และอาหารทั่วไปนั้นมีความเทียบเท่ากัน เว้นแต่กรณีที่มีการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการบางอย่างเข้าไปในจีเอ็มโอซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหาร อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอนั้น ก็จะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าอาหารปกติ

6. ผลกระทบของอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ ที่มีต่อร่างกายมีในทางลบหรือไม่ และมีความแตกต่างกันไหมระหว่างผลที่มีกับเด็ก หรือผู้ใหญ่

จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นต่อร่างกายของผู้บริโภคทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอที่มีจำหน่ายในท้องตลาดและได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยมาแล้ว

7. ถ้ารับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอในตอนนี้ จะเกิดผลเสียกับร่างกายในอนาคตหรือไม่ จะแน่ใจได้อย่างไร

ขณะนี้ยังไม่มีการรายงานว่า ผู้บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอเข้าไปแล้ว อาหารนั้นจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว เนื่องจากการพัฒนาพันธุ์โดยเทคโนโลยีชีวภาพนั้นมีความจำเพาะสูง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับวิธีการพัฒนาพันธุ์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้แล้วข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการประเมินความปลอดภัยนั้น จะต้องพิสูจน์ได้ว่าสารพันธุกรรมและผลผลิตที่เกิดขึ้น จะต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย

อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอได้มีการผลิตในเชิงพาณิชย์และมีการบริโภคกันมา 9-10 ปีแล้ว ส่วนในทางการแพทย์นั้นเทคโนโลยีดัดแปรพันธุกรรมได้เข้ามามีบทบาทนานมากแล้ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ อินซูลิน ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน และยังมียารักษาโรคอีกหลายชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีนี้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีรายงานถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้อินซูลิน ยา และอาหารที่ได้ออกจำหน่ายไปแล้ว
8. จริงหรือไม่ที่อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอมีสารก่อให้เกิดมะเร็งหรือทำให้เป็นมะเร็ง

ยังไม่มีรายงานใดที่แสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอจะเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง ในทางตรงกันถ้ารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้าง หรือสารพิษของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด หรืออาหารที่ไหม้เกรียมจะมีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งในร่างกาย

9. จริงหรือไม่ ที่รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอแล้วก็เหมือนเป็นอาหารผีดิบ เพราะมีการตัดต่อพันธุกรรมจะทำให้ร่างกายเปลี่ยนไป หรือพันธุกรรมของคนเปลี่ยนไป

แท้ที่จริงแล้วอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอไม่ใช่อาหารผีดิบแต่อย่างใด การที่มีการเรียกชื่ออาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอว่าเป็นอาหารผีดิบนั้น เป็นเพราะความไม่เข้าใจถึงพื้นฐานทางวิชาการที่ถูกต้อง และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ หรือข้อมูลทางการแพทย์ ที่บ่งชี้ว่าการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ จะทำให้พันธุกรรมของมนุษย์เปลี่ยนไป เนื่องจากในความเป็นจริงเมื่อมนาย์บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ ส่วนประกอบทั้งหมดในอาหารจะถูกย่อยสลาย โดยระบบย่อยอาหารของมนุษย์ เช่นเดียวกันกับอาหารที่ไม่มีจีเอ็มโอ หลังจากนั้นร่างกายจะนำสารอาหารที่ได้จากย่อยสลายไปใช้ประโยชน์

10. ในอนาคตควรพิจารณาอย่างไรว่าอาหารใดปลอดภัยที่จะรับประทาน ควรงดอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ เลยใช่หรือไม่

หากพิจารณาบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอที่ผ่านการประเมินความปลอดภัยแล้วนั้น มีความปลอดภัยไม่แตกต่างจากอาหารชนิดอื่น
11. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอในประเทศไทย มีมาตรการอย่างไรที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าอาหารจีเอ็มโอปลอดภัย และมีหน่วยงานใดที่ให้บริการตรวจสอบจีเอ็มโอในอาหาร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารทุกชนิด รวมถึงอาหารจีเอ็มโอ โดยมีมาตรการความปลอดภัยของอาหารทุกชนิด รวมถึงอาหารจีเอ็มโอ โดยมีมาตรการความปลอดภัยคือ อาหารที่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบจะต้องผ่านการพิจารณาประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยผู้เชี่ยวชาญก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้

นอกจากนี้ อย.ยังได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 251) พ.ศ.2545 เรื่องการแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิกการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค โดยประกาศฯ ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เทื่อวันที่ 11 พ.ค. 2546 ส่วนหน่วยงานในประเทศไทยที่ให้บริการตรวจสอบจีเอ็มโอในผลิตภัณฑ์อาหารได้แก่ห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสถาบันอาหาร

12. อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอนั้นมาจากประเทศใดบ้าง

วัตถุดิบที่จะนำมาใช้เป็นอาหารส่วนใหญ่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา อาเจนตินา แคนาดา และในอนาคตอาจจะมีจากกลุ่มประเทศในยุโรป เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ สหภาพยุโรปได้อนุญาให้ประเทศสมาชิกสามารถปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมเพื่อการค้าแล้ว

13. มีหน่วยงานใดทั้งในและต่างประเทศที่ดูแลความปลอดภัยของอาหารจีเอ็มโอ

ไม่ว่าจะเป็นอาหารจีเอ็มโอ หรืออาหารที่ไม่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบ อาจมีความเสี่ยงได้ทั้งสิ้น เช่น สารตกค้างบางชนิดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นต้น ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าไม่มีสิ่งใดที่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามอาหารจีเอ็มโอที่จะออกมาสู่ผู้บริโภค จะต้องผ่านการประเมินแล้วว่ามีความปลอดภัยเทียบเท่ากับอาหารที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ
องค์กรที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องดังกล่าวภายในประเทศได้แก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ส่วนองค์กรในต่างประเทศได้แก่ USFDA ในสหรัฐอเมริกา Health Canada ในประเทศแคนาดา และ The Royal Society ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น
14. จีเอ็มโอเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากน้อยแค่ไหน อย่างไร
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมีการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันผลผลิตของประเทศได้รับความเสียหายอย่างมากจากโรคและแมลงศัตรูพืช ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังไม่ประสบผลสำเร็จ จึงต้องมีการเลือกใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมมาช่วยแก้ปัญหา

การดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรมเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาวะดินเค็ม ดินเปรี้ยว เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากด้านการเกษตรแล้ว ยังมีการนำไปใช้อุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ อินซูลินที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัคซีนบางชนิด และเอนไซม์ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็ง เป็นต้น

15. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารชนิดไหนปลอดภัย หรือถูกตรวจสอบและได้รับอนุญาตแล้วว่าปลอดภัย
ในประเทศไทย อาหารที่ได้การรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาถือได้ว่าผ่านการตรวจสอบและมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะบริโภค




--------------------------------------------------------------------------------



ทราบหรือไม่ว่า......

***** มีการนำเทคโนโลยีการดัดแปรพันธุกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิตเนยแข็ง ซึ่งมีคุณแม่บ้านนำมาประกอบ หรือ ขนมอบต่างๆ มานานกว่า 10 ปี เนยแข็งเหล่านี้ล้วนมีคุณภาพและรสชาติที่ถูกใจผู้บริโภคทั่วโลก

***** ทางการแพทย์ใช้เทคโนโลยีดัดแปรพันธุกรรมในการผลิตอินซูลินเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา ปัจจุบัน ยาและวัคซีนหลายชนิดที่คุณหมอหรือเภสัชกรใช้ ได้ถูกผลิตขึ้นมาจากเทคโนโลยีดังกล่าว เช่น วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ ชนิดบี (Hepatitis B Vaccine) ที่ใช้ทั้งในผู้ใหญ่และทารกแรกเกิด

***** เช่นเดียวกับยาและวัคซีนอีกหลายชนิดที่ผลิตโดยเทคโนโลยีการดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งสัตวแพทยนิยมใช้ทั้งในสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ โดยมีการใช้วัคซีนสำหรับสัตว์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวชนิดแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2525

***** ในทางเกษตรกรรม มีการใช้เทคโนโลยีการดัดแปรพันธุกรรมในพืชหลายชนิด เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่เจาะจงตามต้องการ เช่น ฝ้ายที่ต้านทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการ ลดปัญหาการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตร และบางกรณีช่วยลดสารพิษจากเชื้อราที่เป็นโทษ


ที่มา.www.thaibiotech.info/what-is-gmos.php - แคช - ใกล้เคียง

 ตอบ.2

อธิบาย.
กุญแจสำคัญที่มีบทบาทควบคุมกระบวนการเมตาโบลิซึมของ
ร่างกายสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คือ กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) หรือ
DNA
พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอด
ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง หรือ
จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน
อัลลีน (Allele) หรือ Allelomorps หมายถึง ยีน 2 ยีนซึ่งอยู่ตำ
แหน่งเดียวกันบนโครโมโซมคู่เหมือนกันโดยควบคุมลักษณะ
เดียวกัน ถ้ามี gene เหมือนกันเรียกว่าพันธุ์แท้ (homozygous)
ถ้ามี gene ไม่เหมือนอยู่ด้วยกัน เรียกว่าพันธุ์ทาง (heterozygous)
จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง ชุดของ gene ที่มาเข้าคู่กัน
ซึ่งสิ่งมีชีวิตได้รับมาจากพ่อและแม่ ฟีโนไทป์ (Phenotype) หมายถึง ลักษณะต่าง ๆ ที่สามารถ
แสดงออกมาให้เห็นได้ เป็นผลมาจาก genotype และสิ่งแวด
ล้อม
ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (Complete deominance) หมายถึง
ลักษณะที่แสดงออก (phenotype) ที่ gene เด่นสามารถข่ม gene
ด้อยได้อย่างสมบูรณ์
ลักษณะเด่นไม่สมบูรณ์ (Incomplete dominance) หมายถึง
การแสดงออกของลักษณะที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากลักษณะด้อยมี
อิทธิพลมากพอ สามารถแสดงลักษณะออกมาได้
Monohybrid cross หมายถึง การผสมพันธุ์โดยพิจารณาเพียง
ลักษณะเดียว แต่ถ้าเป็นการผสมพันธุ์โดยศึกษาหรือพิจารณาทั้ง
2 ลักษณะควบคู่กัน เรียกว่า Dihybrid cross
ลักษณะเด่นร่วม (Co-dominant) หมายถึง ลักษณะทาง
กรรมพันธุ์ที่ gene แต่ละตัวที่เป็นอัลลีล (allele) กัน มีลักษณะ
เด่นทั้งคู่ข่มกันไม่ลง จึงแสดงออกมาทั้ง 2 ลักษณะ เช่น กรรม
พันธุ์ของหมู่เลือด AB
Polygene หรือ Multiple gene หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์
ที่มียีน (gene) หลายคู่(มากกว่า 2 alleles) ที่ทำหน้าที่ร่วมกัน เพื่อ
ควบคุม phenotype อย่างเดียวกัน จึงทำให้เกิดลักษณะที่มีความ
แปรผันกันแบบต่อเนื่องคือลดหลั่นกันตามความเข้มของยีน เช่น
ลักษณะความสูงเตี้ยของคน จะมีตั้งแต่สูงมาก สูงปานกลาง
เตี้ย
Mutiple alleles หมายถึง ลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่ควบคุม
โดย alleles มากกว่า 2 alleles ขึ้นไป เช่น พันธุกรรมของหมู่
เลือด ABO ถูกควบคุมโดย alleles 3 alleles
Law of probability (กฎของความน่าจะเป็น)
"โอกาสในการเกิดลักษณะใดลักษณะหนึ่งจะเท่ากับผลคูณของ
โอกาสแต่ละโอกาสเหล่านั้น เช่น โอกาสในการเกิดบุตรเพศ
ชาย x โอกาสมีบุตรลักษณะผิวเผือก
ตัวอย่าง สามี-ภรรยาคู่หนึ่งต่างมีลักษณะ heterozygous
ของผิวเผือก โอกาสที่สามี-ภรรยา
- มีบุตรเป็นชาย-หญิง
- มีบุตรผิวเผือก
- มีบุตรหญิงผิวเผือก
- มีบุตรหญิงผิวปกติ
วิธีทำ กำหนดให้ A = gene ควบคุมผิวปกติ(ลักษณะเด่น)
a = gene ควบคุมผิวเผือก(ลักษณะด้อย)
สามี-ภรรยามีลักษณะพันธุ์ทาง (heterozygous)ของผิวเผือก
genotype จึงเป็น Aa
 
ผิวปกติ ผิวเผือก
สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรชาย - หญิง (เสมอ)
สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรผิวเผือก
สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรหญิงผิวเผือก
สามี-ภรรยาคู่นี้มีโอกาสมีบุตรหญิงผิวปกติ
ยีน เป็นหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมการถ่ายทอด และแสดง
ลักษณะของสิ่งมีชีวิต ยีนอยู่บนโครโมโซม ซึ่งอยู่ในส่วน
นิวเคลียสของเซลล์ โครโมโซมผิดปกติจะส่งผลให้ลักษณะ
ของสิ่งมีชีวิตผิดปกติไปด้วย
โครโมโซม คือ ร่างแหโครมาตินหรือร่างแหนิวเคลียสที่หดตัว
สั้นขณะที่เซลล์มีการแบ่งตัวและเป็นที่อยู่ของยีน
โครโมโซมประกอบด้วยโครมาติด 2 โครมาติด มีเซนโตเมียร์
(centromere) เป็นส่วนยึดให้โครมาติดทั้ง 2 ติดกัน
ร่างกายของคนมีโครโมโซม 46 เส้น คือ - ออโตโซม (autosome) คือ โครโมโซมที่เหมือนกันเป็นคู่ ๆ
มี 22 คู่
- โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ โครโมโซมที่มี
ลักษณะแตกต่างกันระหว่างเพศหญิงและเพศชาย
เพศชาย
มีออโตโซม 44 เส้น กับโครโมโซม x และโครโมโซม y คือ
22 + x กับ 22 + y
เพศหญิง
มีออโตโซม 44 เส้น กับโครโมโซม x อีกคู่หนึ่ง คือ 22 + x ความผิดปรกติของโครโมโซม
กลุ่มอาการคริดูชาด (Cri - du - chat syndrome)
โครโมโซมคู่ที่ 5 มีบางส่วนหายไป อาการนี้ทำให้เด็กไม่
เจริญเติบโต ศีรษะมีขนาดเล็ก หน้ากลม ใบหูต่ำ หาตาชี้ และอยู่
ห่างกัน ดั้งจมูกแบน ปัญญาอ่อน และมีเสียงร้องเหมือนแมว
กลุ่มอาการดาวน์ (Down's syndrome)
เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 เส้น อาการของกลุ่มนี้จะ
มีลักษณะคือ แรกเกิดตัวอ่อน ใบหน้าจะมีดั้งจมูกแฟบ นัยน์ตา
ห่าง หาตาชี้ ใบหูผิดรูป ปากปิดไม่สนิท ลิ้นใหญ่จุกปาก
ระหว่างนิ้วหัวแม่เท้า และนิ้วชี้มีช่วงกว้าง ปัญญาอ่อน บางรายมี
ความพิการของหัวใจและทางเดินอาหารทำให้เสียชีวิตได้
ลิงค์ยีน (linked gene)
คือ ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing over)
คือ ปรากฎการณ์ที่โครมาทิดของโครโมโซมเส้นหนึ่งแลก
เปลี่ยนกับโครมาทิดของโครโมโซมอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งเป็นโฮโม
โลกัสกัน การแลกเปลี่ยนยีนจะไม่มีผลต่อลักษณะของรุ่นลูก
แมลง พวกผึ้ง ต่อ แตนและมด
ตัวผู้มีโครโมโซมเป็นแฮพพลอยด์ (n)
ตัวเมีย มีโครโซมเป็น ดิพลอยด์ (2n)
ตั๊กแตน ตัวผู้มีโครโมโซมเพศคือ x เพียงอันเดียวหรือ xo
ตัวเมียมีโครโมโซมเพศ คือ xx
สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและนก จะมีโครโมโซมเพศตรงข้ามกับคน คือ ตัวผู้เป็น xx ส่วนตัว
เมียเป็น xy
ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (sexlinked gene หรือ x - linked gene)
เป็นพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีนที่อยู่บนโครโมโซม x แต่ไม่
อยู่บนโครโมโซม y เช่น ยีนที่แสดงสีตาของแมลงหวี่,โรคโลหิต
ไหลไม่หยุด
พาหะ (Carrier)
คือ ผู้ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมปกติ แต่มียีนผิดปกติของ
ลักษณะนั้นแฝงอยู่
ฮีโมฟีเลีย (hemophilia)
คือ โรคพันธุกรรม ซึ่งควบคุมโดยยีนเกี่ยวกับเพศ อาการของ
โรคนี้ คือ เลือดจะแข็งตัวช้า
กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) มี 2 ชนิด คือ
1. DNA - ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรม
2. RNA - ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน
1. โครงสร้างของ DNA
DNA เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ประกอบด้วยนิวคลีโอ
ไทด์ (nucleotide) เรียงต่อกันมากมาย นิวคลีโอไทด์ มี 4 ชนิดคือ
1. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสอะดีนีน (adenine)
2. นิวคลีโอไทด์ทีมีเบสไทมีน (thymine)
3. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสไซโทซีน (cytosine)
4. นิวคลีโอไทด์ที่มีเบสกวานีน (guanine)
ปริมาณของอะดีนีน = ปริมาณของไทมีนเสมอ
ปริมาณของไซโทซีน = ปริมาณของกวานีนเสมอ
ส่วนประกอบของ DNA
กลุ่มฟอสเฟต
น้ำตาลดีออกซีไรโบส
เบสไซโทซีน
เบสอะดีนีน
เบสกวานีน
เบสไทมีน
2. RNA
2. กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid) หรือ RNA จะพบใน
นิวเคลียสและไซโทพลาสซึม
RNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 4 ชนิด ส่วนที่แตกต่างกัน
ระหว่าง DNA และ RNA คือ น้ำตาลและเบส RNA จะพบใน
เซลของตับอ่อน และเซลของต่อมไหมของหนอนไหม โมเล
กุลของ RNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สายเดียว และมีเบส
ยูราซิลแทนไมมีน
ส่วนประกอบของ RNA
กลุ่มฟอสเฟต
น้ำตาลไรโบส
เบสไซโทซีน
เบสอะดีนีน
เบสกวานีน
เบสยูราซิล
มิวเทชัน (mutation) คือ การเปลี่ยนแปลงของยีนที่ผิดไปจากเดิม ซึ่งลักษณะนี้
สามารถถ่ายทอดสืบต่อไปยังรุ่นลูกและรุ่นต่อ ๆ ไป

ที่มา.www.bs.ac.th/lab2000/web_bio/panthu.htm



 ตอบ.1

อธิบาย.

  หลายท่านอาจยังไม่คุ้นหูกับคำว่า "ไบรโอไฟต์" แต่หากบอกว่า "มอสส์" บางท่านอาจจะพอนึกภาพออก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มอสส์จัดเป็นสมาชิกกลุ่มหนึ่งของไบรโอไฟต์เท่านั้น ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับไบรโอไฟต์กันให้มากยิ่งขึ้นกันดีกว่า    
มอสส์    
          ไบรโอไฟต์มักขึ้นในที่ร่มและชุ่มชื้น เช่น ก้อนหิน เปลือกไม้ พื้นดิน เป็นต้น แต่บางครั้งเราอาจพบไบรโอไฟต์ขึ้นอยู่บนวัตถุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ท่อน้ำพีวีซี พื้นซีเมนต์ ตุ๊กตาดินเผา เป็นต้น ไบรโอไฟต์เป็นพืชบกสีเขียวที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ไม่มีดอก และไม่มีรากที่แท้จริง มีไรซอยด์ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเกาะ การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุสามารถเข้าสู่ภายในของต้นโดยผ่านเซลล์ได้ทุกเซลล์ ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ จึงได้นิยมนำไบรโอไฟต์มาใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (bioindicator) โดยเฉพาะเพื่อใช้ในการศึกษาผลกระทบทางด้านมลพิษในอากาศ เพราะไบรโอไฟต์สามารถดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง         
          ไบรโอไฟต์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต ไบรโอไฟต์มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของป่าในด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นพืชบุกเบิกในธรรมชาติ ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าที่รกร้างและแห้งแล้ง ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ที่สำคัญเซลล์ของไบรโอไฟต์ มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับน้ำได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว สามารถดูดซับได้ถึง 200-500% ของน้ำหนักแห้ง พืชกลุ่มนี้จึงเปรียบเหมือนฟองน้ำของป่าที่ช่วยดูดซับน้ำให้กับผืนป่า ไบรโอไฟต์จึงนับว่าเป็นพืชตัวน้อยที่นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่าเป็นอย่างมากกลุ่มหนึ่ง       
           ปัจจุบันมีการนำไบรโอไฟต์มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เช่น นำมาจัดตู้ปลา จัดสวน หรือแม้แต่นำมาเป็นวัสดุช่วยปลูกกล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าวิจัยในการสกัดสารเคมีจากไบรโอไฟต์บางชนิด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น มอสส์สกุลข้าวตอกฤาษี (Sphagnum) สามารถรักษาอาการตกเลือดอย่างเฉียบพลัน และโรคที่เกี่ยวกับตา (Pant, 1998) สำหรับประเทศไทยการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศที่มีการปลูกไบรโอไฟต์เป็นสินค้าส่งออกสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมากมาย อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรมีจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างดีตลอดไปด้วย

ที่มา.ข้อมูลจาก สุนทรี กรโอชาเลิศ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยการสนับสนุนทุนจากโครงการ BRT
ตอบ.1

อธิบาย.
ไวรัสไข้หวัดนกที่ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2004 มีชื่อเรียกว่า A/Chicken/Nakorn-Pathom/Thailand/CU-K2/04 (H5N1) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีลักษณะก่อให้เกิดโรครุนแรง จัดเป็นชนิด highly pathogenic AI (HPAI) ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากไก่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับไวรัสไข้หวัดนกที่แยกเชื้อได้จากเป็ดในการระบาดที่ประเทศจีนเมื่อปี 2003 มากที่สุด A/Duck/China/E319.2/03 (H5N1) จากการศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัส พบว่ามี 20-codon deletion ในยีน neuraminidase และ 5-codon deletion ในยีน NS รวมทั้งพบ polymorphisms ของยีน M2 และยีน PB2 อีกด้วย
ไข้หวัดนกเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคในสัตว์ปีก แตกต่างที่ส่วนประกอบที่ผิวของไวรัส คือ ฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสเป็นคนละชนิดที่ทำให้เกิดโรคในคน เชื้อที่ทำให้เกิดโรคในคน ฮีแมกกลูตินินจะเป็น H1 หรือ H2 หรือ H3 แต่ของนกมีตั้งแต่ H1 ถึง H15 ส่วนนิวรามินิเดสของคนมีแต่ชนิด N1 และ N2 ส่วนของนกมีตั้งแต่ N1-N9 เชื้อไข้หวัดใหญ่ของคนที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน คือ Influenza A ชนิด H1N1, H1N2, H3N2 และ Influenza B ส่วนเชื้อที่มาจากนกและสร้างปัญหาให้แก่ประเทศไทยคือ Influenza A H5N1
สำหรับหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากมีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนด
หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ไว้ว่าจะต้องมีข้อมูลดังนี้
1.บอก type ว่าเป็น type A, B หรือ C
2.ชนิดของสัตว์ที่แยกเชื้อไวรัสได้ ถ้าแยกได้จากมนุษย์ไม่ต้องบอก
3.สถานที่แยกเชื้อไวรัสได้ มักเป็นชื่อเมืองหรือประเทศ
4.ลำดับของเชื้อที่แยกได้ในปีนั้น
5.ปี ค.ศ. ที่แยกเชื้อไวรัสได้
6.ถ้าเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ type A จะต้องบอก subtype ของ H และ N ด้วย
ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีรูปร่างหลายแบบ กลมหรือเป็นสายยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 นาโนเมตร แต่พวกที่เป็นสายยาวอาจมีความยาวหลายไมโครเมตร ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีสายพันธุกรรมเป็น RNA สายเดี่ยวมี polarity เป็นลบ และแยกเป็นชิ้น โดย types A และ B มี 8 ชิ้น ส่วน type C มี 7 ชิ้น สำหรับไวรัสไข้หวัดนกเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A พบว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A ทุกชนิดสามารถก่อให้เกิดโรคในสัตว์ปีกได้ ส่วนเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ types B และ C ไม่ก่อให้เกิดโรคในสัตว์ปีก
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A ก่อการติดเชื้อในมนุษย์และสัตว์หลายชนิด เช่น ม้า สุกร นก ไก่ เป็นต้น โรคไข้หวัดใหญ่ที่พบในมนุษย์มีสาเหตุเกิดจาก type A ประมาณร้อยละ 80 นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่ทั่วโลกด้วย เป็น type ที่มีการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนของฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสไปจากเดิมมากจนกระทั่งเกิดเป็น subtype ใหม่ขึ้นอยู่เรื่อยๆ ชั้นนอกของไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเปลือกหุ้ม ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไขมันและไกลโคโปรตีน บนเปลือกหุ้ม มี spikes สองชนิดคือ ฮีแมกกลูตินิน ซึ่งมีรูปร่างเป็นแท่ง และนิวรามินิเดส ซึ่งมีรูปร่างเหมือนดอกเห็ด spikes 2 ชนิด รวมกันมีจำนวนประมาณ 500 ก้าน จำนวนของ H: N มีอัตราส่วนประมาณ 4-5: 1
ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถเปลี่ยนแปลงแอนติเจนได้ง่าย โดยการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย หรือมีการเปลี่ยนยีนในกรณีที่เซลล์มีการติดเชื้อ 2 subtypes ที่แตกต่างกัน กลายเป็น subtype ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาได้ และเป็นสาเหตุที่ก่อระบาดวิทยาใหญ่ทั่วโลกบ่อยกว่าไวรัสอื่น วงการแพทย์ได้บทเรียนจากอดีตว่าถ้าเชื้อจากไข้หวัดนกและเชื้อจากไข้หวัดคนไปติดในคนคนเดียวกันหรือสัตว์ตัวเดียวกันมีโอกาสที่เชื้อจะผสมกันได้ ไวรัสสายพันธ์ใหม่ที่มีความรุนแรงเหมือนไข้หวัดนกและสามารถติดคนได้เหมือนไข้หวัดคน ถ้ามีเชื้อชนิดนี้เกิดขึ้นจะเกิดการระบาดไปทั่วโลก เพราะไม่เคยมีคนใดมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนี้มาก่อน คนอาจจะตายหลายล้านคนเหมือนไก่ การป้องกันในคนทำยากกว่ามากเพราะเราไม่สามารถเอาคนที่สัมผัสโรคมาทำลายเหมือนไก่ได้ เชื้อไข้หว้ดใหญ่ในคนติดง่ายกว่าเชื้อซารส์ เพราะฉะนั้นจึงต้องป้องกันไว้ก่อนไม่ให้เกิด
แอนติเจนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ ฮีแมกกลูตินิน ทำหน้าที่ในการจับกับที่รับบนผิวเซลล์ ทำให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลได้ ตำแหน่งของตัวรับนี้พบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจ และพบบนผิวเม็ดเลือดแดงด้วย ฮีแมกกลูตินินมีคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดแดงของมนุษย์หมู่เลือดโอและสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ และหนูตะเภา เกิดปฏิกิริยาเกาะกลุ่ม คุณสมบัตินี้นำมาใช้ตรวจหาไวรัสได้ ฮีแมกกลูตินินของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A แบ่งออกเป็น 15 subtypes คือ H1, H2, H3... H15 ทั้ง 15 subtypes พบได้ในนก แต่เชื้อที่พบในมนุษย์ในปัจจุบันมีอยู่ 3 subtypes คือ H1, H2, และ H3 ส่วน subtypes อื่นๆ มีการติดเชื้อในสัตว์ต่างๆ กัน เช่น สุกร ม้า แมวน้ำ และปลาวาฬ เชื้อไข้หวัดใหญ่ types B และ C ยังไม่มีการแบ่งฮีแมกกลูตินินออกเป็น subtype
นิวรามินิเดสเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยไกลโคโปรตีน ซึ่งเป็นตำแหน่งของตัวรับบนผิวเซลล์ทำให้ไวรัสหลุดเป็นอิสระจากเซลล์ เนื่องจากโมเลกุลของไกลโคโปรตีนนี้พบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจด้วย ทำให้ไวรัสถูกดักจับติดกับเมือกได้เมื่อเมือกจับไวรัสไว้ ไวรัสจะใช้เอนไซม์นี้ย่อยทำให้เมือกใสขึ้น ไวรัสจึงหลุดออกไปบุกรุกเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจที่อยู่ลึกลงไป แอนติบอดีต่อนิวรามินิเดสมีผลในการคุ้มกันโรคเพียงบางส่วน โดยแอนติบอดีต่อนิวรามินิเดสยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในขั้นตอนการปลดปล่อยไวรัสออกจากเซลส์
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
 

2 ความคิดเห็น:

  1. ประเมินผลงานชิ้นนี้

    ทำตามที่กำหนด10คะแนน

    มีเฉลยให้5คะแนน

    บอกที่มาของแหล่งข้อมูลได้10คะแนน

    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นได้22คะแนน

    รวมผลงานชิ้นนี้ได้47คะแนน

    ตอบลบ
  2. งานชิ้นนี้ได้ทำลงสมุดข้อ6-15

    ประเมินผลงานชิ้นนี้ได้

    ทำตามที่กำหนดได้20คะแนน

    มีเฉลยให้10คะแนน

    บอกที่มาของแหล่งข้อมูลได้20คะแนน

    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นได้40คะแนน

    รวมผลงานชิ้นนี้ได้90คะแนน

    ตอบลบ