กิจกรรมวันที่15 พฤศจิกายน 2553

อธิบาย: สายใยอาหาร
ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ที่สำคัญคือการเป็นอาหาร
ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในโมเลกุลของอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากพืช ซึ่ง
เป็นผู้ผลิต ( Producer ) สู่ผู้บริโภค ( Herbivore ) ผู้บริโภคสัตว์ ( Carnivore ) กลุ่มผู้บริโภคทั้งพืชและ
สัตว์ ( Omnivore ) และผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ( Decomposer ) ตามลำดับในห่วงโซ่อาหาร
( Food Chain ) ในระบบนิเวศธรรมชาติระบบหนึ่งๆ จะมีห่วงโซ่อาหารสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนหลายห่วง
โซ่ เป็นสายใยอาหาร ( Food Web )
ที่มา:student.nu.ac.th/u46410197/lesson%205.htm
อธิบาย:
การสังเคราะห์ด้วยแสง (อังกฤษ: photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช,สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาปรุงอาหารได้ จะว่าไปแล้ว สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อความเติบโตของตน ทั้งทางตรงและทางอ้อม นับเป็นความสำคัญยิ่งยวดสำหรับสิ่งมีชีวิตในโลก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs"
ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/การสังเคราะห์ด้วยแสง
อธิบาย:
คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) คือสารประกอบที่เกิดจาก คลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) และคาร์บอน (C) ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากหลายกรณีเช่น การปล่อยควันพิษของโรงงาน โดยเรายังจะสามารถพบสารนี้ได้ในตู้เย็นของเรา หรือแม้แต่ในสเปรย์ทุกชนิด ฉะนั้น การใช้สเปรย์จึงเป็นการสร้างสาร CFC โดยสาร CFC นี้ มีความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก เพราะว่าสาร CFC สามารถที่จะทำลายชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่ ทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) สามารถแผ่เข้ามาสู่ผิวโลกได้อย่างเข้มข้นขึ้น ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่ร้อนจัด และทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังในคน พื้นดินจะกลายเป็นทะเลทราย เกิดภาวะน้ำแล้ง จนในที่สุด โลกก็จะถูกทำลาย และสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดจะสูญพันธุ์
ที่มา:www.tpfria.or.th/index.php/Cfc.html
อธิบาย:
ไวรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยคำว่าไวรัสอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พริออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 [1] ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ [2] วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology)
ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/ไวรัส
อธิบาย:
ในทางชีววิทยา เซลล์ (cell) เป็นโครงสร้างและหน่วยทำงานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ในบางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต ("building blocks of life") สิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แบคทีเรีย ประกอบด้วยเซลล์เพียง 3 เซลล์ (unicellular) แต่สัตว์หลายชนิด เช่น มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular) (มนุษย์มีเซลล์อยู่ประมาณ 100 ล้านล้าน หรือ 1014 เซลล์)
ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป
คำว่า เซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็กๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระ
ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/เซลล์_(ชีววิทยา)
อธิบาย: สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution)      
         หมายถึง สารละลายภายนอก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้นํ้าภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
เป็นผลทำให้ซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งขึ้น ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนที่ออกจากเซลล์เหมือนกันแต่
น้อยกว่าเคลื่อนที่เข้าเซลล์ ผลจากการที่น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์แล้วทำให้เซลล์เต่ง
เรียกว่า plasmoptysis
        ในเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์ที่หนา แข็งแรง ถึงเกิดแรงดันเต่งมาก ๆ ผนังเซลล์ก็ยังต้านทานได้
เรียว่า wall pressure แรงดันเต่งช่วยให้เซลล์พืชรักษารูปร่างได้ดี เช่น ใบกางได้เต็มที่ ยอดตั้งตรง
         ในเซลล์สัตว์์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้า้ำน้ำออสโมซิสเข้าไปมากอาจทำให้เซลล์แตกได้ เช่น
เซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกปรากฏการณ์ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกว่า haemolysis
อธิบาย: การแพร่ คือการแพร่จากอนุภาคของสารจากที่มีส่ารมากไปสู่ที่ๆมีสารน้อย หรือพูดง่ายๆก็คือ แพร่จากที่ๆมีน้ำมากไปสู่ที่ๆมีน้ำน้อย

การออสโมซิส คือ การแพร่จากที่ๆมีสารน้อยไปสู่สารมาก หรือจากที่ๆมีน้ำมากไปสู่น้ำน้อยนั่นเอง

                                                           ภาพปากใบ
                                                    จาก  www.kroo.ipst.ac.th
      สังเกตได้ว่าทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ยกตัวอย่างง่ายๆคือ (ออสโมซิส) ในใบไม้มีปากใบ ในปากใบจะมีน้ำอยู่ ซึ่งในปากใบแต่ล่ะอันถ้าดูดีๆจะสัมผัสกัน ดังนั้น การที่ปากใบมันหุบอ้าๆก็เพราะว่า เมื่อปากใบข้างๆหุบปากใบตรงกลางก็จะอ้าเนื่องจาก น้ำที่มีอยู่ในใบข้างๆออสโมซิสมาหาใบแรก แต่พอใบแรกหุบใบข้างๆกลับอ้าง เพราะว่าใบที่อ้ามากนั้น หมายความว่ามีน้ำมาก น้ำที่มีอยู่มากกว่าปากใบข้างๆ น้ำจึงออสโมซิสออกไปที่ปากใบข้างๆแทน

     หรือในกรณีใส่ปุ๋ย หากใส่ปุ๋ยในรากมากเกินไป น้ำที่มีสะสมอยู่ ก็จะออสโมซีสออมาเป็นต้น เพราะว่าสารมากก็จะออกมาสู่สารน้อย(การแพร่)
ที่มา:www.muslimthai.com/main/1428/content.php?category=110&id
อธิบาย:
โปรตีน (อังกฤษ: protein) เป็นสารอินทรีย์ซึ่งพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีโครงสร้างซับซ้อนและมีมวลโมเลกุลมาก โปรตีนมีหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโน เรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ โปรตีนมีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งไวรัสด้วย โปรตีนในอาหารนั้นเป็นแหล่งของกรดอะมิโน ให้แก่สิ่งมีชีวิตแต่ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนเหล่านั้นได้เอง
โปรตีนเป็นหนึ่งในมหโมเลกุล (macromolecules) เช่นเดียวกันกับโพลีแซคาไรด์ (คาร์โบไฮเดรต) และกรดนิวคลีอิก (สารพันธุกรรม) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โปรตีนถูกค้นพบครั้งแรกโดย Jöns Jacob Berzelius ในปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838)
ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/โปรตีน


อธิบาย:




ผิวหนัง
     ผิวหนังของคนเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ที่ห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ ผิวหนังของผู้ใหญ่คนหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ตารางนิ้ว ผิวหนังตามส่วนต่างๆของร่างกาย จะหนาประมาณ 1-4 มิลลิเมตร แตกต่างกันไปตามอวัยวะ และบริเวณที่ถูกเสียดสี เช่น ผิวหนังที่ศอก และ เข่า จะหนากว่าผิวหนังที่แขนและขา
ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/ผิวหนัง
อธิบาย:Contractile vacuole ออร์แกแนลที่มีลักษณะเป็นถุง พบในโพรโทซัวน้ำจืดหลายชนิดเช่น อะมีบา พารามีเซียม ทำหน้าที่ขับถ่ายน้ำที่มากเกินความต้องการ และของเสียที่ละลายน้ำออกจากเซลล์และควบคุมสมดุลน้ำภายในเซลล์ให้พอเหมาะด้วย
อธิบาย:กระบวนการสร้างและสลาย หรือ กระบวนการสันดาปของร่างกาย หรือ เมแทบอลิซึม หรือ เมตาบอลิสม[ต้องการอ้างอิง] (อังกฤษ: metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολισμος ("metabolismos") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" หรือ "โค่นล้ม" (Etymonline)) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของสารประกอบเคมีในสิ่งมีชีวิตในระดับเซลล์ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการชีวสังเคราะห์เพื่อการสร้างสารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น ซึงเรียกว่าแอแนบอลิซึม (anabolism) และในทางกลับกันกระบวนการย่อยสลาย ที่ทำให้โมเลกุลใหญ่เล็กลงเราเรียกว่าแคแทบอลิซึม (catabolism)
ที่มา:th.wikipedia.org/.../หมวดหมู่:เมแทบอลิซึม

อธิบาย:
แอนติบอดี (อังกฤษ: antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (อังกฤษ: immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen)
การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเปปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป
โครงสร้างโมเลกุลของแอนติบอดีอยู่ในรูปตัววาย (Y shape) ประกอบด้วยสายพอลีเปปไทด์ 4 เส้น คือ เส้นหนัก (heavy chain) 2 เส้น และเส้นเบา (light chain) 2 เส้น โดยเปรียบเทียบจากขนาดน้ำหนักโมเลกุลส่วนที่โคนของตัววายของโมเลกุลแอนติบอดี เรียกว่า constant region จ ะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็นคลาสไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เป็นต้น โดยที่ส่วนปลายของตัววายซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกับแอนติเจนจะมีความหลากหลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ซึ่งเรียกว่า variable region
ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/แอนติบอดี
อธิบาย:โรคโปลิโอ หรือ Poliomyelitis นับเป็นโรคที่มีความสำคัญมากโรคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะเชื้อ ไวรัสโปลิโอ จะทำให้มีการอักเสบของไขสันหลังทำให้มีอัมพาตของกล้ามเนื้อแขนขา ซึ่งในรายที่อาการรุนแรงจะทำให้มีความพิการตลอดชีวิต และบางรายอาจถึงเสียชีวิตได้ ในปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคโปลิโอได้ลดลงอย่างมาก เป็นผลจากการให้วัคซีนโปลิโอครอบคลุมได้ในระดับสูง
สาเหตุ
              เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Picornaviridae และในกลุ่ม Enterovirus มี 3 Serotype คือ Type 1, 2 และ 3 แต่ละชนิดอาจจะทำให้เกิดอัมพาตได้ พบ type 1 ทำให้เกิดอัมพาตและเกิดการระบาดได้บ่อยกว่าทัยป์อื่นๆ เมื่อติดเชื้อชนิดหนึ่งแล้วจะมีภูมิคุ้มกันถาวรเกิดขึ้นเฉพาะต่อทัยป์นั้น ไม่มีภูมิต้านทานต่อทัยป์อื่น ดังนั้น ตามทฤษฎีแล้วอาจติดเชื้อได้ถึง 3 ครั้ง 

ที่มา:thaigcd.ddc.moph.go.th/vac_p_Polio.html
อธิบาย:
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (อังกฤษ: Meiosis) เป็นการแบ่งเซลล์ที่พบในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในยูคาริโอต การแบ่งเซลล์แบบนี้ไม่พบในเซลล์ทุกเซลล์ การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสแบ่งเป็นระยะได้ 2 ระยะ ดังนี้
  1. ระยะอินเตอร์เฟส (Interphase) มีการจำลองดีเอ็นเอ มีการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ และโปรตีนเพื่อเตรียมพร้อมที่จะแบ่งตัว โครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาทิด เยื่อหุ้มนิวเคลียสยังไม่สลายไป
  2. ระยะแบ่งเซลล์ (cell division) แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ
    1. ระยะไมโอซิส I (Meiosis I) เป็นระยะที่จำนวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง แบ่งเป็น 4 ระยะคือ
      1. ระยะโพรเฟส I เป็นช่วงที่ใช้เวลาถึง 90% ของการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส โครมาตินหดตัวเข้ามาเป็นโครโมโซม โครโมโซมที่เป็นคู่กัน (homologous chromosome) มาเข้าคู่กัน ทำให้เห็นแต่ละคู่มี 4 โครมาทิด เกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างซิสเตอร์ โครมาติด ซึ่งเรียกว่า ครอสซิ่ง โอเวอร์ (crossing over) ซึ่งทำให้เกิดการกลายพันธุ์หรือการแปรผันพันธุกรรม ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 5 ระยะคือ
        1. เลปโททีน (Leptotene) โครโมโซมเป็นเส้นใย ขนาดเล็กและยาวมากสานกันไปมาเรียกว่า โครโมนีมา (Chromonema) บางส่วนพันกันถี่มาก เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มดูคล้ายลูกปัดซึ่งเรียกว่า โครโมเมียร์ (Chromomere) เห็นนิวคลีโอลัสชัดเจน
        2. ไซโกทีน (Zygotene) ส่วนฮอมอโลกัสโครโมโซมมาจับคู่เรียงกันตามความยาวของโครโมโซม ทำให้โครโมเมียร์ตรงกันทุกจุด เรียกว่า ซิแนปส์ (Synapse) การเกิดซิแนปส์ทำให้มีการเข้าคู่ของแอลลีล
        3. แพคีทีน (Pachytene) โครโมนีมาพันแน่นขึ้นจนเห็นเป็นเส้นหนาชัดเจน เรียกว่า โครโมโซม โดยฮอมอโลกัสโครโมโซมอยู่กันเป็นคู่ เรียกว่า ไบเวเลนต์ (Bivalent) แต่ละไบเวเลนต์ประกอบด้วย 4 โครมาทิด เรียกสภาพนี้ว่า เทแทรด (Tetrad)
        4. ดิโพลทีน (Diplotene) เซนโทรเมียร์ของแต่ละฮอมอโลกัสโครโมโซมแยกออกจากกัน แต่มีบางส่วนของฮอมอโลกัสโครโมโซมยังพันกันอยู่ เรียกบริเวณนั้นว่า ไคแอสมา (Chiasma) ซึ่งอาจมีได้หลายตำแหน่ง มีการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของนอนซิสเตอร์โครมาทิดเรียกว่า ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing Over) ทำให้ยีนมีการเรียงตัวกันใหม่ และเกิดการแปรผันทางพันธุกรรม
        5. ไดอะไคนีซิส (Diakinesis) โครโมโซมหดสั้นมากขึ้นทำให้ไบเวเลนด์แยกตัวมากขึ้น โครโมโซมติดกันเฉพาะส่วนปลาย นิวคลีโอลัสและเยื่อหุ้มนิวเคลียสเริ่มสลายตัวไป ทำให้ไบเวเลนต์กระจายอยู่ในเซลล์
      2. ระยะเมทาเฟส I โครโมโซมที่มี 4 โครมาติดมาเรียงตัวที่ระนาบกลางเซลล์ มีเส้นใยสปินเดิลจับที่ไคนีโตคอร์
      3. ระยะแอนาเฟส I เป็นระยะที่มีการดึงโฮโมโลกัสโครโมโซมออกจากกัน เป็นระยะที่เกิดการลดจำนวนโครโมโซม
      4. ระยะเทโลเฟส I และการแบ่งไซโตพลาสซึม แต่ละขั้วของเซลล์มีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ (n) 2 ชุด (แต่ยังมีซิสเตอร์โครมาติดอยู่) มีการแบ่งไซโตพลาสซึมและสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสขึ้นใหม่
    2. ระยะไมโอซิส II (Meiosis II)
      1. ระยะโพรเฟส II เป็นระยะที่สร้างเส้นใยสปินเดิลเพื่อดึงซิสเตอร์ โครมาติดออกจากกัน
      2. ระยะเมตาเฟส II ซิสเตอร์โครมาติดเรียงอยู่กึ่งกลางเซลล์
      3. ระยะอะนาเฟส II เป็นระยะที่ดึงซิสเตอร์โครมาติดออกจากกัน
      4. ระยะเทโลเฟส II และการแบ่งไซโตพลาสซึม มีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสและแบ่งไซโตพลาสซึมตามมา ในที่สุดจะได้เซลล์ลูก 4 เซลล์ ซึ่งมีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ (n)
ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/ไมโอซิส
อธิบาย:
กรดนิวคลีอิก (อังกฤษ: nucleic acid) เป็นโพลิเมอร์ของนิวคลีโอไทด์ ที่ต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ ( phosphodiester bond ) โดยที่หมู่ของฟอสเฟตที่เป็นส่วนประกอบของพันธะจะเชื่อมโยงระหว่างหมู่ ไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 5' ของนิวคลีโอไทด์โมเลกุลหนึ่งกับหมู่ไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3' ในโมเลกุลถัดไป จึงทำให้นิวคลีโอไทด์มีโครงสร้างของสันหลัง ( backbone ) เป็นฟอสเฟตกับน้ำตาลและมีแขนงข้างเป็นเบส อาจจำแนกได้เป็น DNA และ RNA
ที่มา: th.wikipedia.org/wiki/กรดนิวคลีอิก
 อธิบาย:เพดดีกรี (pedigree) หรือพงศาวลี เป็นแผนผังในการศึกษาพันธุกรรมของคน ซึ่งแสดงบุคคลต่างๆ ในครอบครัวดังแผนผัง

แผนผังแสดงสัญลักษณ์ของเพดดีกรี

ที่มา:www.maceducation.com/e-knowledge/2432210100/01.htm
อธิบาย:
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (อังกฤษ: thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่าๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 และพบผู้ที่มีพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน[1] เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ
ที่มา: www.dmsc.moph.go.th/webroot/ri/Npublic/p04.htm
 อธิบาย:
ออโตโซม (อังกฤษ: autosome) คือโครโมโซมที่ไม่ใช่โครโมโซมเพศ สำหรับในมนุษย์จะมีออโตโซม 22 คู่ และมีโครโมโซมเพศ 1 คู่ โดยอาจเป็น XX (เพศหญิง) หรือ XY (เพศชาย)
ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/ออโตโซม
 อธิบาย:
โรคตาบอดสีมีอยู่  4 ชนิด
   1. ตาบอดสีอย่างรุนแรงจะมองเห็นสีขาว-สีดำเท่านั้น
  2. ตาบอดสีแบบดาลตันนิสม์(Daltonism) อาจเป็นตาบอดสีแดงหรือตาบอดสีเขียว อย่างใดอย่างหนึ่ง          
   3. ตาบอดแบบไมเนอร์ ดาลตันนิสม์(Minor  Daltonism) ยังสามารถมองเห็นสีเขียว สีแดงบ้างแต่ไม่ชัด
    4. ตาบอดสีอย่างอ่อน เห็นสีบ้างแต่ไม่ชัด  จะต้องใช้เวลาสังเกตนาน หรือเห็นได้เฉพาะสีเดียว ถ้าหากหลายสีจะแยกสีไม่ออก
การบอดสีมีสาเหตุ  2  ประการคือ
1. การบอดสีเนื่องจากความผิดปกติของส่วนหลังนัยน์ตา
2. การบอดสีจากพันธุกรรม
โอกาสในการเกิดโรคตาบอดสี
   ผู้ชาย  มีโอกาสเกิดจาการบอดสีสีจากพันธุกรรม  มากกว่าผู้หญิง เพราะว่าโครโมโซมเพศของหญิงทั้งคู่จะมีรูปร่างลักษณะและขนาดเหมือนกันที่เรียกว่า  XX  ส่วนโครโมโซมเพศชายจะมีลักษณะต่างกันเป็น  XY  ยีนที่ควบคุมการมองเห็นสีจะอยู่บนโครโมโซม  X  ดังนั้นเมื่อเพศชายซึ่งมีโครโมโซม  X  เพียงแท่งเดียวและเมื่อได้รับยีนด้อยหรือตาบอดสี ก็จะแสดงลักษณะตาบอดสี  ส่วนผู้หญิงมีโครโมโซม  X อยู่ 2 แท่ง ถ้ามียีนด้อยอยู่  1  แท่ง  ก็ยังไม่แสดงอาการของตาบอดสีให้ปรากฏทั้งนี้เพราะโครโมโซม  X  อีกแท่งหนึ่งยังเป็นยีนเด่น หรือตาปกติ  จึงข่มการแสดงออกของยีนด้อย  ดังนั้นเพศหญิงจึงไม่มีโอกาสตาบอดสี  แต่จะเป็นพาหะของยีนตาบอดสี

ที่มา:gotoknow.org/blog/rojanaporn/60658
อธิบาย:
พันธุกรรม (อังกฤษ: genetics) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นสู่รุ่น (Generation) เช่น รุ่นพ่อแม่ลงไปสู่รุ่นลูกหลาน มีการเริ่มต้นการศึกษาเรื่องพันธุกรรมโดย เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) เป็นผู้ที่ค้นพบและอธิบายหลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ในช่วงกลางของทศวรรษที่ 18
พันธุกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีลักษณะต่างๆแตกต่างกันไปมากมาย โดยมีหน่วยควบคุมที่เรียกว่ายีน ซึ่งมีทั้งยีนที่ควบคุมลักษณะเด่น และยีนที่ควบคุมลักษณะด้อย แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ลักษณะเราแตกต่างออกไปคือสภาพแวดล้อม เช่น ความอ้วน อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม
ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/พันธุกรรม











:


1 ความคิดเห็น:

  1. ประเมินผลงานชิ้้นนี้

    ทำตามที่กำหนดได้40คะแนน
    มีเฉลยให้20คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูลให้40คะแนน
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้80คะแนน

    รวมคะแนนชิ้นนี้ได้180คะแนน

    ตอบลบ